วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

การอนุบาลลูกปลาหางนกยูง

สำหรับการอนุบาลลูกปลาหางนกยูงนั้นถ้าไม่ได้เพาะเพื่อจำหน่ายให้ทำบ่อใส่ไม้น้ำเอาไว้ครับ แนะนำว่าควรจะทำไว้ตั้งแต่ตอนที่เพาะปลาตอนเเรกเลยครับ เวลาลูกปลามาลงจะได้มีตะไคร่ให้ลูกปลากินด้วย

บ่อที่มีไม้น้ำนั้นเป็นบ่ออนุบาลลูกปลาหางนกยูงได้เป็นอย่างดีครับ จากที่ผมเคยเพาะมานั้น ลูกปลาที่รอดเเทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์เลยครับ อาหารก็ให้ไรน้ำหรืออาหารเม็ดบดก็โอเคแล้วครับ เพราะว่าลูกปลาจะกินตะไคร่น้ำได้ทั้งวันอยู่เเล้ว

สำหรับคนที่อนุบาลลูกปลาเพื่อการจำหน่ายหรือเน้นปริมาณ ก็ต้องมีบ่อซีเมนต์อย่างดีและระบบกรองน้ำพร้อมอ๊อกซิเจนด้วยเพื่อลูกปลาจะได้โตเร็วและสมบูรณ์ อาหารที่ให้ควรจะเป็นอาหารสดจะดีที่สุดเพราะลูกปลาจะโตเร็วมากถ้ากินอาหารสด

การเพาะปลาหางนกยูง

การเพาะปลาหางนกยูงนั้นทำได้ง่ายมากครับ โดยมีเพียงพ่อแม่พันธุ์สวยๆหน่อย มีภาชนะที่เหมาะสมกับจำนวนปลาก็เริ่มกันได้เลยครับ

แน่นอนครับว่าก่อนอื่นเราก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นกันก่อน
อุปกรณ์ที่จำเป็นก็มี
1.พ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูงที่จะเพาะ
2.ภาชนะหรือบ่อที่เลี้ยง
พูดถึงภาชนะที่ใช้เพาะนั้นแทบจะไม่ได้จำกัดนะครับว่าจะต้องใช้อะไร ใช้ได้ตั้งแต่ตู้ปลาเล็กๆ กะละมัง อ่างบัวหรืออ่างซีเมนต์ก็แล้วแต่ ได้ทั้งนั้นครับ
3.ที่พักลูกปลา อาจจะเป็นพืชน้ำ ไม้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นผักตบที่อยู่ในคลองข้างบ้านหรือเป็นไม้น้ำต่างๆ ถ้าอยากเพาะเเบบธรรมชาติก็ให้ใช้ไม้น้ำต่างๆได้ครับ แต่ถ้าหากว่าจะเพาะแบบเน้นปริมาณให้ได้ลูกปลาเยอะๆควรใช้กระจาดที่มีรูเล็กๆที่ลูกปลารอดเข้าไปได้แต่พ่อเเม่ปลาไม่สามารถเข้าไปได้ครับโอเคเลย


นี่หละครับตระกร้าที่มีรูแบบนี้ก็ใช้ได้ครับสำหรับให้ลูกปลาหางนกยูงรอดเข้าไปได้

วิธีการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ก่อนอื่นให้เตรียมน้ำพักไว้หนึ่งคืนครับเพื่อความแน่นอน แล้วก็ใส่น้ำลงไป พร้อมพืชน้ำหรือตระกร้า ช่วงแรกประมาณ 2-3 อาทิตย์ไม่ต้องใส่ลงไปมากก็ได้ครับเพราะว่าปลายังไม่ท้อง รอประมาณเดือนนึงขึ้นไปนั่นเเหละครับจึงเริ่มใส่พืชน้ำลงไปเยอะหน่อยหรือว่าติดตั้งตระกร้าพักลูกปลาไว้ได้เลย

วิธีการใช้ตระกร้านั้นจะสะดวกและดูแลความสะอาดได้ง่ายกว่าครับ เวลามีลูกปลาเข้าไปในตระกร้าก็ตักออกไปพักในบ่ออนุบาลต่อไปสักประมาณสองเดือนก็น่าจะหมดครอกแรกครับ